สังคมศึกษา

1.กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาและวัฒนธรรม

สมาชิก

ด.ช.มนต์ชัย  พรรณราย         ม.2/3 เลขที่ 3
ด.ญ.กนกพร  อ้ายจุ้ม             ม.2/3 เลขที่ 28
ด.ญ.กัญญารัตน์  สุนทรวงษ์ ม.2/3 เลขที่ 30
ด.ญ.ปราณปริยา  พิมพ์เภา    ม.2/3 เลขที่ 32
ด.ญ.วรรณวดี  ทิมุมหิ           ม.2/3 เลขที่ 34

มาตรฐาน ส.3.1 .2/2  อธิบายปัจจัยและการผลิตสินค้าและบริการ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการ
มาตรฐาน ส.4.1 เข้าใจความหมายความสำคัญของเวลา และ ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ
ตัวชี้วัด ม.2/1 ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่างๆ
.2/2 วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของทางประวัติศาสตร์
.2/3 เห็นความสำคัญของการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ

ประวัติอำเภอแม่สอด
การตั้งถิ่นฐาน
             แม่สอดเป็นเมืองอยู่ทางซีกตะวันตกของแม่น้ำปิง ประวัติความเป็นมามีหลักฐานว่าเมื่อประมาณ 120 ปีที่ล่วงมา (ประมาณปี พ.ศ. 2404-2405) บริเวณที่ตั้งอำเภอหรือชุมชนใหญ่ของอำเภอในปัจจุบันนี้ ได้มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ เรียกชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านพะหน่อแก" ต่อมามีคนไทยจากถิ่นอื่นหลายท้องที่ทางภาคเหนือได้แก่ชาวอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง (ชาวอำเภอเถินยังอพยพไปอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัยอีกด้วย) พากันอพยพลงมาทำมาหากิจในบริเวณหมู่บ้านนี้เป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ชาวกะเหรี่ยงเจ้าของถิ่นฐานเดิมซึ่งไม่ชอบอยู่ปะปนกับชนเผ่าอื่นต้องพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น หมู่บ้านแห่งนี้ได้เจริญขึ้นตามลำดับ จนทางราชการได้ย้ายด่านเก็บภาษีอากรจากบ้านแม่ละเมา มาอยู่ที่หมู่บ้านพะหน่อแกแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2441 ทางราชการจึงได้ยกฐานะหมู่บ้านขึ้นเป็นอำเภอ เรียกชื่อว่า อำเภอแม่สอด ให้อยู่ในเขตปกครองของมณฑลนครสวรรค์ ต่อมาเมื่อมีการมีการปรับปรุงแก้ไขระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำเภอแม่สอดจึงได้เปลี่ยนมาขึ้นกับจังหวัดตาก
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
            แม่สอดเป็นเมืองในหุบเขาตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบแม่สอด โดยเมื่อประมาณ 200 ล้านปีมาแล้วเคยเป็นทะเลมาก่อน เนื่องจากมีการค้นพบฟอสซิลหอยชนิดแอมโมไนต์ แอ่งที่ราบแม่สอดมีภูเขาล้อมรอบเหมือนอยู่ในก้นกระทะ แอ่งที่ราบมีลักษณะเป็นแนวยาว มีแม่น้ำเมยไหลผ่านทางยาวไปตามแนวเขา และมีลักษณะทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากมายทั้งตามหุบเขาไม่ไกลนักจากตัวเมืองแม่สอดและบนสองฝั่งตามแนวยาวของแม่น้ำเมย อย่างไรก็ดี แม่สอดมิใช่เมืองเดียวโดดเดี่ยวในแอ่งที่ราบแม่สอด ยังมีอีกหลายเมืองที่ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำเมย ทั้งพบพระ แม่สอด เมียวดี แม่ระมาด และท่าสองยาง
ตามหุบเขาไม่ไกลนักจากตัวเมืองแม่สอด ทั้งที่ดอยมะขามป้อมหนึ่งและสอง ดอยสระกุลี ดอยมณฑา และดอยส้มป่อย บนเส้นทางสายแม่สอด-ตาก มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีมากพอสมควร ทั้งเครื่องใช้ไม้สอยและอาวุธ สันนิษฐานว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และน่าจะเกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพของไทยกับพม่าในสมัยอยุธยา
กรุโบราณซึ่งพบที่บ้านพบพระ ก็เป็นแหล่งโบราณคดีอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญ วัตถุโบราณที่พบมีทั้งเครื่องไม้ใช้สอย ทั้งอาวุธและเครื่องประดับสำริด สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของชนชาติไทยจากจีนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3-4[2]
สมัยประวัติศาสตร์
            อำเภอแม่สอดเป็นอำเภอที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ เป็นเมืองที่มีพระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองนี้แล้วถึง 3 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกอบอิสรภาพ ณ เมืองแครงและยกทับกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตากและเป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่าครั้งที่ 2
ในสมัยสุโขทัย มีซากเมืองโบราณอีกหลายแห่งบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเมย ทั้งในตัวเมืองแม่สอดและในเมียวดีฝั่งพม่า ที่ตำบลแม่ตื่นและตำบลสามหมื่นในอำเภอแม่ระมาด แต่ละแห่งที่พบนั้นสร้างขึ้นต่างยุคกัน บางแห่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย คำว่า เมืองฉอด ก็ปรากฏเป็นครั้งแรกในสมัยสุโขทัยเช่นกัน มีการกล่าวถึง เมืองฉอด ในศิลาจารึกหลายหลัก อาทิ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่หนึ่ง ศิลาจารึกวัดศรีชุม และศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงหลักที่ 1 และ 2 แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถพิสูจน์แน่นอนได้ว่า เมืองฉอดอยู่ที่ไหนในแอ่งที่ราบแม่สอด ยังจะต้องอาศัยการสำรวจเพิ่มเติม ที่ว่า เมืองฉอดคือแม่สอดนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น[3]
ในสมัยอยุธยา คำว่า "เมืองฉอด" ไม่มีปรากฏในเอกสาร โดยมีการกล่าวถึงด่านแม่ละเมาซึ่งอยู่ในเขตแม่สอด และเป็นเส้นทางเดินทัพของกองทัพพม่า
สมัยปัจจุบัน

อำเภอแม่สอดได้ถูกเสนอชื่อเพื่อยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดแม่สอดพร้อมกับสี่อำเภอข้างเคียง



ที่มาและความหมายของ “ต้นไม้หยกเส้นทางสู่อาชีพในชุมชน”
                หยก ได้ชื่อว่าเป็นอัญมณีจากสวรรค์เชื่อว่าหยกมีพลังลึกลับสามารถผลักดันความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้บูชา ซึ่งสืบทอดความเชื่อถือนี้มาแต่โบราณ ซึ่งได้มีการพบหยกเจไดต์ในพม่าตอนเหนือติดกับจีน
                ความหมายของหยกแต่ละสี
หยกสีแดง                             ทำให้มีความรู้อ่อนไหวในเรื่องของความรัก ลดความโกรธและความเครียด
หยกสีเหลือง                        เพิ่มพลังพลังและการกระตุ้นชีวิตให้มีความสุข ระลึกถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและการ     เชื่อมโยงของสิ่งมีชีวิตในโลกแห่งนี้
หยกสีฟ้าแกมเขียว              เป็นเครื่องหมายของสันติ นำความสงบเข้ามาสู่จิตใจ สามารถรักษาผู้ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเอง  ได้
หยกสีม่วง                             จะรักษาอารมณ์ที่เจ็บปวดควบคุมอารมณ์ให้มีความอดกลั้น
พื้นที่การทำอาชีพนี้

                ตลาดริมเมย ถือชุมชนบริเวณฝั่งแม่น้ำเมย ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตรงข้ามกับอำเภอเมียวดีของสหภาพพม่า เป็นตลาดค้าขายสินค้าพื้นเมืองมากมายของไทย และ สหภาพพม่า ซึ่งแม้ตลาดริมเมยจะไม่ใหญ่โตเหมือนตลาดการค้าชายแดนอย่างตลาดแม่สาย หรือ ตลาดโรงเกลือ แต่ที่นี้ก็มีสินค้าที่น่าสนใจ และ ราคาถูกมากมายให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อเป็นของฝาก และ สินค้าที่น่าสนใจซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ นิยมซื้อกับมาเป็นของฝากจากจังหวัดตาก คงหนีไม่พ้น “ ต้นไม้หยก”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น